คุณอภิญญา พรจินดารักษ์ กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ ร่วมงานเปิดตัว GIT Standard สร้างมาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า หวังยกระดับเทียบเท่าสากล จัดโดยสถาบันวิจัยและพัฒนอัญมณีและครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากผู้ซื้อ ส่งเสริมอุตสกรรมฯ จิวเวลรี่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน หนุนภาพลักษณ์ไทยในการเป็นฮับการค้าอัญมณีเครื่องประดับโลก
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค ประธานคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ(จีไอที) กล่าวว่า ในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ถือได้ว่าเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ
ดังนั้นในเรื่องของมาตรฐานสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และละเลยไม่ได้ ทั้งนี้ห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับ รวมทั้งโลหะมีค่าที่มีหน้าที่ให้บริการตรวจสอบ และออกใบรับรองคุณภาพสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ถือได้ว่ามีส่วนสำคัญช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการค้า และบริโภคในสินค้ากลุ่มนี้ และมีส่วนผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตอย่างยั่งยืนและมีธรรมาภิบาล พร้อมส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางอัญมณีและเครื่องประดับด้วย ในปัจจุบันประเทศไทยห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่าเปิดให้บริการเป็นจำนวนมาก แต่ไทยยังไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบ หรือมาตรการใดๆ ที่จะนำมาปรับใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการให้มีมาตรฐานสากลหรือเทียบเท่าสากล เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างชาติได้ ด้วยเหตุนี้ GIT ได้ริเริ่มดำเนินโครงการ GIT Standard โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานสำหรับห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศ เปิดโอกาสให้ห้องปฏิบัติการภายในประเทศสามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการตรวจ วิเคราะห์/ทดสอบสินค้าอัญมณีและครื่องประดับ และเพื่อให้ห้องปฏิบัติการที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบันสามารถนำไปใช้เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย รองผู้อำนวยการสถาบัน รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ กล่าวว่า GIT Standrd ครอบคลุม 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านมาตรฐานการให้บริการของห้องปฏิบัติการ ด้านมาตรฐานวิธีวิเคราะห์และทดสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า และด้านมาตฐานบุคลากรของห้องปฏิบัติการ
ทั้งนี้ สถาบันได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดทำมาตรฐาน อาทิ สำนักงานมาตฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรม สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ สมาคมค้าทองคำ สมาคมช่างทองไทย สมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินไทย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมการท่องเที่ยว ผู้แทนจากภาคเอกชน และผู้เชี่ยวชาญด้านอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงได้จัดทำประชาพิจารณ์เปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชนผ่านช่องทางเว็บไซต์และเฟซบุ๊กของสถาบัน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมฟังการแสดงข้อคิดเห็นผ่านทุกช่องทางเป็นจำนวนมาก โดยคณะกรรมการวิชาการได้นำข้อคิดเห็นดังกล่าวมา ประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนด GIT Standard ที่พร้อมประกาศใช้อย่างเป็นทางการในปี 2563 นี้ สถาบันจะประกาศใช้มาตรฐานห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีคำ ในเฟสแรก จำนวน 5 ขอบข่าย ได้แก่ วิธีมาตรฐานสำหรับการทดสอบอัญมณี -วิธีพื้นฐาน, การวิเคราะห์หปริมาณทองคำ (Au) ด้วยวิธี Cupellation (Fire Assay), การวิเคราะห์หาเปอร์เซ็นต์ทองคำ (Au) ในตัวอย่างโลหะมีค่าโดยใช้เทคนิค X-Ray Fluorescence (XRF), การวิเคราะห์หาความหนาทองคำ (Au)ในตัวอย่างเครื่องประดับชุบโลหะมีค่า โดยใช้เทคนิค X-Ray Fluorescence (XRF) และ การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะเงิน โดยเทคนิค Potentiometric Titration ด้วยเครื่อง Auto Titrator
GIT Standard จะช่วยพัฒนาและยกระดับมาตรฐานห้องปฏิบัติการฯ ในประเทศไทยให้เทียบเท่าระดับสากลได้ ซึ่งจะเสริมสร้างความเชื่อถือให้ห้องปฏิบัติการและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้มากขึ้น